ไซลาซีน วางยานักวิ่ง – จากกรณี ผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Etoriw Sibaht” ได้โพสต์ข้อความเตือนภัยลงในโลกออนไลน์ ระบุว่า “เตือนภัยนักวิ่ง!!! วางขวดน้ำในสวนสาธารณะ อาจตายเพราะโดนวางยา!!! โดยระบุว่าตนได้วางขวดน้ำที่ยังไม่ได้เปิดฝาไว้แล้วออกวิ่งกำลังกาย วิ่งเสร็จกลับมาดื่มน้ำขวดดังกล่าวซึ่งยังไม่ได้เปิดฝา “ปรากฏว่า รสชาติน้ำขวดดังกล่าว ซึ่งเป็นยี่ห้อประจำที่ซื้อดื่มกินนั้น รู้สึกถึงรสชาติที่เฝื่อนๆ แปลกไปจากเดิม ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เปิดขวด” ต่อมาได้เกิดอาการแปลก ๆ กับร่างกาย
คืนนั้นเบื้องต้น หมอวินิจฉัยว่า
ผมอาจจะ STORKE จึงได้ทำการทดสอบอาการ และส่งเข้า CT SCAN โดยในตอนนั้น อาการของผมเหมือนคนเป็น STORKE คือลิ้นแข็ง ทรงตัวไม่ได้ ไม่มีเรี่ยวแรง และเริ่มพูดไม่ชัดขึ้นเรื่อยๆ แต่ปากไม่เบี้ยว จนกระทั่งผมหมดสติไป หมอสรุปว่า อาจเป็นเพราะได้รับ….. “สารพิษบางอย่างเข้าร่างกาย หรือไม่ก็ร่างกายสร้างสารพิษขึ้นมา จนทำให้เกิดปฏิกิริยาในร่างกาย”
เมื่อกลับไปดูขวดน้ำที่ดื่มก็พบมีรอยถูกเจาะตรงคอขวด ต่อมาน้ำจากในขวดดังกล่าวได้ในไปตรวจหาสารพิษทางแลป และล่าสุดวันนี้ 25 มิ.ย. ผลออกมาแล้วพบว่าสารพิษที่พบในขวดน้ำคือ ” ไซลาซีน (Xylazine) เจือปน 98% และ เมทิลพาราเบน (Methyl paraben) ไซลาซีน เป็นยาสลบที่ใช้กับสัตว์ เช่น ม้า วัว ควาย สัตวแพทย์มักใช้ยานี้สำหรับ สุนัขและแมว” รองศาสตราจารย์วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับ PPTVHD36
ตรวจหามะเร็งเต้านมด้วย แมมโมแกรม (Mammogram) ยิ่งเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม “ไม่เป็นความจริง”
จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้เขียนข้อความระบุว่า การทำแมมโมแกรม ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นมะเร็งเต้านมเร็วขึ้น ซึ่งมีผู้แชร์ไปไม่ต่ำกว่า 7 พัน 6 ร้อยครั้ง และคลิปนั้นมีผู้ชมมากกว่า 2 แสนครั้ง
หมายเหตุ: การตรวจแมมโมแกรม (Mamogram) เป็นการตรวจหาโรคมะเร็งเต้านมในปริมาณรังสีที่เหมาะสม จะแสดงให้เห็นถึงก้อนเนื้อขนาดเล็กหากมีความผิดปกติภายในเต้านม
ล่าสุด ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกมาแก้ไขความเข้าใจผิดนี้ว่า
“ตามที่มีกระแสข่าวในสื่อสังคม (social media) เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย ขอยืนยันเบื้องต้นว่า
๑. การคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยภาพรังสีเต้านม (mammography หรือ mammogram) ถือว่าเป็นการตรวจคัดกรองมาตรฐาน ที่ได้รับการยอมรับในเวชปฏิบัติกันมาอย่างยาวนานและแพร่หลายทั่วโลก มีข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ถึงประโยชน์ ความปลอดภัย และความคุ้มค่า อย่างเพียงพอ
๒. การวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องตรวจด้วยสนามแม่เหล็กแรงสูง (Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI) ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ ซึ่งราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้รับอำนาจหน้าที่จากแพทยสภา ในการฝึกอบรมและสอบ เพื่อให้เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญดังกล่าว
ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนที่อาจจะเห็นกระแสข่าวดังกล่าว ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย”
กรมวิทย์ฯ เผยขั้นตอนการทดลอง วัคซีนโควิด-19
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยขั้นตอนการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในหนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบ โควิด 19 ด้วยวิธี Plaque Reduction Neutralization Test (PRNT) โดยเน้นย้ำถ้าเซรั่มในเลือดหนูทำให้มีการติดเชื้อลดลงอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าวัคซีนต้นแบบมีภูมิคุ้มกันในการป้องกันเชื้อโรคได้ ซึ่งวัคซีนต้นแบบนี้ จะนำไปทดลองในลิง และในคนต่อไป
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันชีววัตถุ เป็นห้องปฏิบัติการในการควบคุมคุณภาพวัคซีนภาครัฐ ซึ่งองค์การอนามัยโลกให้การรับรองเป็นห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานในระดับภูมิภาค สำหรับการวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ในประเทศ
กรมวิทย์ฯ ได้ช่วยตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในหนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบ โดยวิธี plaque reduction neutralization test (PRNT) ซึ่งต้องทดสอบโดยใช้เชื้อไวรัสโควิด 19 ภายใต้ระดับความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ 3
การทดลองโดยนำซีรั่มจากเลือดหนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบมาเจือจางที่ระดับต่างๆกัน จากนั้นนำมาผสมกับไวรัสโควิด 19 ก่อนนำไปใส่ลงในเซลล์แล้วนำไปบ่มในอุณหภูมิที่เหมาะสม นาน 6 วัน จากนั้นนำไปย้อมสีและตรวจนับจำนวนไวรัส
ถ้าซีรั่มในเลือดไม่มีภูมิคุ้มกัน เซลล์ก็จะติดเชื้อ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเซรั่มในเลือดมีภูมิคุ้มกันสามารถป้องกันเชื้อได้ ไวรัสที่อยู่ในเซลล์ที่มีการติดเชื้อจะลดลงอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ได้ ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าสามารถป้องกันโรคได้ดีหรือไม่ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนและยอมรับ
“ส่วนในประเด็นเรื่องของการจะได้ใช้วัคซีนเมื่อไหร่นั้น เป็นเรื่องของอนาคตยังไม่สามารถตอบได้ ซึ่งบางประเทศรายงานเร็วที่สุดต้นปี 2564 บางประเทศรายงานปลายปี 2564 ซึ่งการวิจัยพัฒนาวัคซีนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ละขั้นตอนต้องทดสอบในสิ่งมีชีวิตทำให้ผลที่ได้มีความแปรปรวนของการทดสอบ จึงคาดการณ์ได้ยากว่าวัคซีนที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและมีประสิทธิผลนั้น จะสำเร็จได้เมื่อใด” นายแพทย์โอภาสกล่าว
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป